งานบริการสุขภาพ เป็นหน่วยงานที่ขึ้นอยู่กับคณะพยาบาลศาสตร์ ตั้งอยู่ที่อาคารวิทยาศาสตร์สุขภาพ รับผิดชอบในการให้บริการด้านสุขภาพอนามัย รักษาและปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่นักศึกษาและบุคลากร และได้จัดให้มีการดำเนินการรักษาโรคขั้นต้นโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทุกวันที่มีการเรียนการสอน เวลา 12.00 – 13.00 น. และมีเจ้าหน้าที่ประจำห้องพยาบาลให้บริการปฐมพยาบาลและจ่ายยาสามัญเบื้องต้นแก่ผู้ที่มาใช้บริการ ตั้งแต่เวลา 8.30 – 16.30 น. นอกจากนี้ยังได้จัดห้องพักสำหรับผู้ป่วย แยกเป็นห้องผู้ป่วยหญิงและผู้ป่วยชาย ในกรณีที่นักศึกษาหรือบุคลากรจำเป็นจะต้องนอนพักเพื่อให้ทุเลาจากอาการเจ็บป่วย
1. บริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น (จ่ายยายาสามัญเบื้องต้น)
1.1 สอบถามวัตถุประสงค์ข้อมูลเบื้องต้นในการรักษาพยาบาลด้วยการซักประวัติและข้อบ่งชี้เกี่ยวกับภาวะอาการ/โรค
1.2 สอบถามประวัติการแพ้ยาหรือการแพ้อื่นๆ ถ้าหากมีประวัติการแพ้ยาหรือการแพ้อื่นๆ
1.2.1 ให้ซักประวัติเพิ่มเติมโดยละเอียด เช่น แพ้ยาหรือแพ้อาหารชนิดใด มีอาการแพ้เป็นอย่างไร
1.2.2 ให้คำแนะนำข้อควรระมัดระวังการใช้ยาในการรักษาโรคเบื้องต้น
1.2.3 ให้คำแนะนำในการไปปรึกษาแพทย์เพิ่มเติม เพื่อการดูแลที่ถูกต้อง
1.3 ทำการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ด้วยการจ่ายยาสามัญทั่วไป ตามอาการ/ภาวะเจ็บป่วย โดยการ
1.3.1 จ่ายยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
1.3.2 อธิบายผล/ผลข้างเคียงของยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่อการรักษา
1.3.3 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเองสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
1.3.4 ให้คำแนะนำในการเฝ้าสังเกตอาการ/ภาวะโรค
– นัดพบอีกครั้งหากต้องติดตามอาการ/ภาวะโรค
– ให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์ หากมีอาการ/ภาวะโรค ไม่ดีขึ้น หรือไม่ทุเลาลงหรือมีอาการ/ภาวะโรค เพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น โดยอาจติดต่อให้รถฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
1.4 ให้ผู้ป่วยลงบันทึกข้อมูล ชื่อ-สกุล ที่อยู่ ประวัติการแพ้ยา ประวัติโรคประจำตัว อาการ/ภาวะโรค
การรักษาและอื่นๆ ลงในแบบฟอร์มการขอรับบริการ “รายชื่อผู้รับบริการ” อย่างละเอียดครบถ้วนสมบูรณ์ และ
ลงบันทึกข้อมูลรายการยา-เวชภัณฑ์ที่ให้บริการ
2. งานบริการตรวจรักษาโดยแพทย์และให้คำปรึกษาเพศศึกษา อนามัยเจริญพันธุ์ (เวลา 12.00-13.00 น.) ในวันที่มีการเรียนการสอน
2.1 สอบถามอาการเจ็บป่วยที่มาตรวจรักษาโดยแพทย์ ด้วยการซักประวัติและข้อบ่งชี้เกี่ยวกับภาวะอาการ/โรค และวัดความดันโลหิต,วัดอุณหภูมิร่างกาย และประเมินอาการป่วยเบื้องต้น ลงในบัตร ตรวจโรค(OPD CARD)
2.2 สอบถามประวัติการแพ้ยาหรือการแพ้อื่นๆ ถ้าหากมีประวัติการแพ้ยาหรือการแพ้อื่นๆ
2.3 ทำการตรวจรักษาโดยแพทย์ ตามรายกรณี ตามอาการ/ภาวะการเจ็บป่วย โดยการ
2.3.1 สั่งยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
2.3.2 อธิบายผลข้างเคียงของยาและเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ต่อการรักษา
2.3.3 ให้คำแนะนำในการปฏิบัติตนเองสำหรับการดูแลตนเองเบื้องต้น
2.3.4 ให้คำแนะนำในการเฝ้าสังเกตอาการ/ภาวะโรค
– นัดพบอีกครั้งหากต้องติดตามอาการ/ภาวะโรค
– แพทย์อาจจะแนะนำให้ไปโรงพยาบาลเพื่อพบแพทย์เฉพาะทาง หรือหากมีอาการ/ภาวะโรค ไม่ดีขึ้น หรือไม่ทุเลาลงหรือมีอาการ/ภาวะโรคเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้น โดยอาจติดต่อให้รถฉุกเฉินนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
2.4 จ่ายยาตามแพทย์สั่ง พร้อมให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพ การรับประทานยาและการใช้ยาอย่างถูกต้อง
3 ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต
ขั้นตอนการลงทะเบียนตรวจสุขภาพใจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
ขั้นตอนการลงทะเบียนตรวจสุขภาพใจ4. บริการ ยืม-คืน ด้านวัสดุอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ต่างๆ ในการจัดกิจกรรม